Workpoint Newsรายงานวันนี้19 กรกฎาคม2562 กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุขติดตามสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาในต่างประเทศเตรียมพร้อมทั้งการเฝ้าระวังและป้องกันโรคเน้นดำเนิน3 มาตรการหลักอย่างเข้มข้นและต่อเนื่องหลังWHO ประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาเป็นสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ วันที่18 ก.ค.2562 จากกรณีที่องค์การอนามัยโลก(WHO) ประกาศให้การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาเป็นสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศหลังพบการระบาดในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ภายหลังจากที่ผู้เชี่ยวชาญขององค์การอนามัยโลกและองค์การสหประชาชาติได้เข้าไปให้การช่วยเหลือในการป้องกันและควบคุมโรคแต่การระบาดยังคงมีอย่างต่อเนื่องตลอดจนพบการระบาดในพื้นที่ใหม่จึงออกประกาศดังกล่าวเพื่อระดมความช่วยเหลือจากนานาประเทศ นพ.สุวรรณชัยวัฒนายิ่งเจริญชัยอธิบดีกรมควบคุมโรคเปิดเผยว่า ตามพ.ร.บ.โรคติดต่อพ.ศ.2558 กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศกำหนดให้โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาเป็นโรคติดต่ออันตรายที่จะต้องเฝ้าระวังและดำเนินการอย่างเข้มข้นโดยกรมควบคุมโรคได้ติดตามสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาในต่างประเทศมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่มีรายงานผู้ป่วยในช่วงเดือนสิงหาคมพ.ศ.2561 ที่ผ่านมาและได้เตรียมพร้อมทั้งการเฝ้าระวังและป้องกันโรคอย่างต่อเนื่องซึ่งขณะนี้ในประเทศไทยไม่มีรายงานผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาแต่อย่างใด กระทรวงสาธารณสุขจัดระบบเฝ้าระวังและป้องกันโรคด้วยมาตรการหลักซึ่งดำเนินการมาอย่างเข้มข้นและต่อเนื่องดังนี้ 1.ติดตามสถานการณ์ความคืบหน้าจากองค์การอนามัยโลกเฝ้าระวังผู้ป่วยโดยเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติหรือคนไทยที่เดินทางมาจากพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคทั้งในด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศในโรงพยาบาลภาครัฐและภาคเอกชนและในชุมชนคัดกรองผู้ที่เดินทางมาจากประเทศที่มีการระบาดของโรคทั้งที่ด่านควบคุมโรคที่สนามบินด่านทางน้ำและด่านพรมแดนทางบก 2.เตรียมความพร้อมในการตรวจหาเชื้อทางห้องปฏิบัติการซึ่งไทยได้รับความร่วมมือจากสหรัฐฯในการตรวจวิเคราะห์เชื้อไวรัสชนิดนี้ 3.มาตรการดูแลรักษาหากมีผู้ป่วยที่มีอาการในข่ายสงสัยโดยใช้มาตรฐานเดียวกับการดูแลผู้ป่วยโรคติดต่อที่มีอันตรายเช่นไข้หวัดนกโรคซาร์สซึ่งโรงพยาบาลในสังกัดทั่วประเทศมีความพร้อมอยู่แล้ว ทั้งนี้องค์การอนามัยโลกไม่แนะนำให้จำกัดการเดินทางหรือการค้าระหว่างประเทศสำหรับผู้ที่จะเดินทางไปยังประเทศที่มีการระบาดของโรคนี้ซึ่งองค์การอนามัยโลกประเมินว่านักเดินทางระหว่างประเทศยังมีความเสี่ยงในระดับที่ต่ำมากเนื่องจากผู้ที่ติดเชื้อส่วนใหญ่มีการติดเชื้อโดยตรงจากการสัมผัสกับของเหลวในร่างกายหรือสารคัดหลั่งของผู้ป่วยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงพยาบาลจากการใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์(เข็มและหลอดฉีดยา) ที่ปนเปื้อนเชื้อรวมถึงไม่มีการป้องกันเมื่อมีการสัมผัสกับสารคัดหลั่งที่ติดเชื้อ คำแนะนำสำหรับผู้ที่จะเดินทางจากประเทศไทยไปยังประเทศที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา 1.หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ป่าทั้งที่ป่วยหรือไม่ป่วย 2.หลีกเลี่ยงการรับประทานสัตว์ป่าที่ป่วยตายโดยไม่ทราบสาเหตุโดยเฉพาะสัตว์จำพวกลิงหรือค้างคาวหรืออาหารเมนูพิสดารที่ใช้สัตว์ป่าหรือสัตว์แปลกๆมาประกอบอาหาร 3.การหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารคัดหลั่งเช่นเลือดจากผู้ป่วยสิ่งของเครื่องใช้ของผู้ป่วยที่อาจปนเปื้อนกับสารคัดหลั่งของผู้ป่วยหรือศพ 4.หลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วยหากมีความจำเป็นให้สวมอุปกรณ์ป้องกันร่างกายและล้างมือบ่อยๆ 5.หากมีอาการเริ่มป่วยเช่นมีไข้สูงอ่อนเพลียปวดศีรษะปวดกล้ามเนื้อเจ็บคออาเจียนท้องเสียภายหลังกลับจากประเทศที่มีการระบาดให้รีบพบแพทย์ทันที
|